Skip to main content

วิทยุเล็กที่สุดในโลก ขนาดเท่าไวรัส!!

ใครจะไปคิด ว่าจะมีวิทยุขนาดเล็กเท่าไวรัส ลองอ่านข่าวต่อไปนี้ดู

image        นักฟิสิกส์สหรัฐฯ ทำวิทยุเล็กที่สุดในโลก ขนาดเท่าไวรัส จาก "ท่อคาร์บอนนาโน" แท่งเดียวรวมทุกคุณสมบัติที่วิทยุพึ่งมี ทั้งรับคลื่น AM ขยายสัญญาณแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงก่อนส่งออกลำโพง และประเดิมบรรเลงเพลง "ไลลา" ของอิริค แคลปตัน
       อเล็กซ์ เซตเทิล (Alex Zettl) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) สหรัฐฯ และ เคนเนธ เจนเซน (Kenneth Jensen) ลูกศิษย์ในที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี ได้ร่วมกับประดิษฐ์วิทยุนาโนจากท่อคาร์บอนนาโน ซึ่งสามารถรับคลื่นเอเอ็ม (AM) และถ่ายทอดสัญญาณเพลง "ไลลา" (Layla) ของอีริค แคลปตัน (Eric Clapton) เป็นเพลงแรกตั้งแต่ปี 2550 โดยสามารถทดลองฟังได้ที่ www.sciam.com/nanoradio
       แต่ทีมวิจัยไม่เปิดเผยผลงานอยู่นาน จนกระทั่งได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารนาโนเลทเทอร์ส (Nano letters) ซึ่งเป็นวารสารวิชาการของสมาคมอเมริกันเคมิคัล (American Chemical Society)
       ไซแอนทิฟิกอเมริกันนำเรื่องนี้มามาขยายความ ในบทความฉบับเดือน มี.ค.52 นี้ว่า เซตเทิลและเจนเซนได้ใช้ท่อคาร์บอนนาโนเพียงท่อเดียว ทำหน้าที่รับสัญญาณถ่ายทอดเสียงวิทยุ แล้วขยายสัญญาณ จากนั้นเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียง ก่อนที่จะส่งสัญญาณไปยังลำโพงในรูปเสียง ที่หูมนุษย์สามารถจำแนกได้
       ทีมพัฒนายังให้ความเห็นว่า วิทยุจากท่อคาร์บอนนาโนนี้ จะเป็นรากฐานในปฏิวัติการประยุกต์ในด้านต่างๆ ทั้งอุปกรณ์ช่วยฟัง โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นไอพอด (iPod) อีกทั้งยังมีขนาดเล็กพอที่จะใส่ในช่องหูได้ด้วย
       ทั้งนี้ วิทยุเกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการผลิตเซนเซอร์ตรวจสอบสภาพแวดล้อม โดยพัฒนาเป็นอุปกรณ์เพื่อนำไปติดตั้งตามโรงงานต่างๆ แล้วส่งรายงานผลตรวจสภาพอากาศในรูปแบบคลื่นวิทยุไปยังจุดที่เลือกรับข้อมูล
       เป็นไปได้ว่า อนาคตใครก็ได้เพียงแค่เปิด "กูเกิล" (Google) แล้วเลือกดูข้อมูลสภาพอากาศของเมืองได้ตามเวลาจริง แต่ระหว่างพัฒนาเซนเซอร์ดังกล่าว เจนเซนได้พบว่าท่อคาร์บอนนาโนมีการสั่นที่ความถี่ต่างๆ ซึ่งเซตเทิลเองก็สังเกตเห็นว่าบางความถี่นั้นตรงกับความถี่วิทยุที่ใช้ใน เชิงพาณิชย์
       เซตเทิลทราบว่า วิทยุพื้นฐานนั้นมีหัวใจสำคัญอยู่ 4 ส่วน ได้แก่ เสาอากาศที่รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกรณ์จูนคลื่นสำหรับเลือกความถี่ตามต้องการ เครื่องขยายสัญญาณสัญญาณซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ที่ปรับให้สัญญาณคมชัด และอุปกรณ์ในส่วนที่แยกสัญญาณจากคลื่นพาหะที่ส่งมา จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังลำโพงที่เปลี่ยนสัญญาณให้เป็นเสียงที่สามารถรับ ฟังได้
       ท่อคาร์บอนนาโนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิทยุจิ๋วนั้น มีคุณสมบัติเชิงเคมี เรขาคณิตและไฟฟ้าที่ผสมกันอย่างลงตัว ดังนั้นเมื่อว่างไว้ระหว่างขั้วไฟฟ้าก็สามารถให้คุณสมบัติสำคัญทั้ง 4 ของวิทยุได้ด้วยท่อคาร์บอนนาโนอย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นเสริม
       เวทเทิลกับเจนเซนได้เลือกใช้ท่อคาร์บอนนาโนที่มีผนังหลายชั้น (multiwalled tube) เนื่องจากง่ายต่อต่อการวางไว้บนขั้วไฟฟ้า แม้ภายหลังพวกเขาจะได้พัฒนาวิทยุจิ๋วอีกรุ่นที่เป็นคาร์บอนนาโนพนังเดียวก็ ตาม โดยคาร์บอนที่ใช้มีความยาว 50 นาโนเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดพอๆ กับไวรัสเลยทีเดียว
       แนวคิดการทำงานของวิทยุจากท่อคาร์บอนนาโนนี้คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งสัญญาณวิทยุเข้ามากระทบกับท่อนาโน ทำให้เกิดการสั่นอย่างมีท่วงทำนองที่เข้าได้กับการสั่นของสันแม่เหล็กไฟฟ้า การสั่นที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันทำให้ท่อคาร์บอนนาโนประพฤติตัวเหมือนเป็นเสาอากาศ แต่ก็มีวิธีที่ต่างไปจากวิทยุแบบเดิมๆ
       เครื่องวิทยุทั่วไปมีเสาอากาศรับสัญญาณในรูปไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าคลื่นที่เข้ามานั้นได้เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในเสาอากาศและเสา อากาศก็ยังคงหยุดนิ่ง หากแต่สำหรับวิทยุนาโนแล้ว ท่อนาโนจะเป็นทรงกระบอกและมีประจุหน่อยๆ
       ดังนั้นเมื่อมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาก็จะผลักให้ท่อคาร์บอนกลับไป กลับมาหน้า-หลัง และเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างวิทยุจิ๋วส่งสัญญาณนั้น พวกเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscope: TEM) ซึ่งมีความละเอียดสูงส่องดูพฤติกรรมของท่อคาร์บอนนาโน
" มันมหัศจรรย์มากเลย ผมหมายความว่ามันน่าประทับใจมาก เราสามารถส่องดูท่อนาโน และเห็นข้อเท็จจริงที่ว่า คุณกำลังดูโครงสร้างระดับโมเลกุลนี้สั่น และได้ยินเสียงของมันไปพร้อมๆ กัน มันเป็นอะไรที่เจ๋ง ผมไม่เคยคิดว่าก่อนเลยว่าจะได้มองเห็นการทำงานของวิทยุอย่างนี้" เซตเทิลกล่าว.

http://www.rssthai.com/reader.php?t=it&r=13449

Comments

Popular posts from this blog

วิธีการแก้ไขปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย เป็นปัญหาที่แก้กันไม่ตก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรค่อนข้างต่ำ แต่รสนิยมในการบริโภคกลับไม่ต่ำตาม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการผลิตของลอกเลียนแบบ หรือของละเมิดลิขสิทธิ์ในอัตราที่สูงจนติดอันดับต้นๆ ของโลก ไม่เพียงรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ติดอันดับโลก แต่รวมไปถึงสินค้าแบรนด์เนมสุดหรูอย่างเสื้อผ้า กระเป๋า น้ำหอม เครื่องสำอางอีกด้วย ซอฟต์แวร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ มีตั้งแต่ซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการ อย่าง Windows และ Mac OS ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในในสำนักงาน อย่าง MS Office ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ อย่าง Adobe Creative Suit รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานเฉพาะด้านอย่าง CAD/CAM และอีกมากมายหลายประเภท ผู้ที่เสาะแสวงหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา เพราะพวกเขาเหล่านั้นคิดว่าการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมตรวจจับได้ยาก อีกทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมก็ไม่ได้ทำให้เขาสูญเสียผลประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งผิดกับนิติบุคคล อย่างองค์กรของรัฐ หรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการการบำรุงรักษาระบบ และบริการหลังการขาย...

เพื่อนสนิท ไม่ว่าจะไม่เจอกันนานแค่ไหน เมื่อกลับมาเจอกันใหม่ก็ยังรู้สึกสนิทกันเหมือนเดิมจริงหรือ?

เคยมีคนบอกเอาไว้ว่า " เพื่อนสนิท ไม่ว่าจะไม่เจอกันนานแค่ไหน เมื่อกลับมาเจอกันใหม่ก็ยังรู้สึกสนิทกันเหมือนเดิม " ผมว่ามันไม่จริงเสมอไป อาจจะต้องเริ่มอธิบายกันก่อนว่าทำไมเราถึงรู้สึกสนิทกับใครบางคน การที่เราจะสนิทกับใครสักคนเราต้องกิจกรรมทางสังคมหลายๆ อย่างด้วยกันบ่อยๆ มีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ไปกินข้าวด้วยกันประจำ ไปเที่ยวด้วยกันประจำ คุยกันเป็นประจำ ไปมาหาสู่กันบ่อยๆ เป็นต้น การที่เราจะทำกิจกรรมแบบนี้กับใครสักคนได้เป็นประจำ เชื่อเถอะว่าคุณกับเขา ต้องมีความคิดเห็น นิสัย ความชอบอะไรเหมือนๆ กัน เอาจริงๆ คือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนชอบกินอะไรคนละอย่างแต่ดันไปกินข้าวด้วยกันเป็นประจำ หรือคนที่ชอบคุยกันคนละเรื่องแต่ก็ดันคุยกันด้วยกันทุกวัน คนที่ชอบเที่ยวกันคนละสไตล์แต่ก็ดันไปเที่ยวด้วยกันเป็นประจำอีก อาจจะมีข้อยกเว้นนะ แต่ผมว่าโอกาสเป็นไปได้น้อยมากๆ ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่ต้องยอมรับกันก็คือ นิสัย ความชอบ ทัศนคติของคนเราเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ในขณะที่เพื่อนสนิทต่างต้องแยกย้ายกันไปมีชีวิตของตนเอง ต่างคนต่างต้องเผชิญกับชีวิตรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ประสบการณ์ต่างๆ ที่ต่างคนต่างพบเจอนี่แหละ ท...

รหัสบัตรเครดิต ภัยอินเทอร์เน็ต

ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การซื้อ-ขายสินค้า และบริการ ก็สามารถดำเนินการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ยิ่งเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้าไปเพียงใด ผู้ที่คิดจะทำเทคโนโลยีมาใช้ในทางฉ้อฉลก็ยิ่งมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การซื้อ-ขายสินค้า และบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้า โดยลูกค้าจะต้องให้รหัสบัตรเครดิตแก่ผู้ขายสินค้า อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดักจับข้อมูลรหัสบัตรเครดิต และข้อมูลสำคัญอื่นนอกจากนี้ได้ อีกวิธีที่เป็นที่นิยมในการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวคือ การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงิน แล้วแจ้งไปยังเหยื่อ อาจใช้อีเมล จดหมาย หรือทางโทรศัพท์ อ้างว่ามีเหตุขัดข้องบางประการเกี่ยวกับบัญชีของเหยื่อ เช่น อ้างว่าบัญชีของเหยื่อถูกระงับชั่วคราว ถูกยกเลิก หรือถูกเพิกถอน โดยหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน รหัสบัตรเครดิต รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร วันเดือนปีเกิด เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้แล้ว ก็จะทำ...