Skip to main content

เพื่อนสนิท ไม่ว่าจะไม่เจอกันนานแค่ไหน เมื่อกลับมาเจอกันใหม่ก็ยังรู้สึกสนิทกันเหมือนเดิมจริงหรือ?

เคยมีคนบอกเอาไว้ว่า "เพื่อนสนิท ไม่ว่าจะไม่เจอกันนานแค่ไหน เมื่อกลับมาเจอกันใหม่ก็ยังรู้สึกสนิทกันเหมือนเดิม" ผมว่ามันไม่จริงเสมอไป

อาจจะต้องเริ่มอธิบายกันก่อนว่าทำไมเราถึงรู้สึกสนิทกับใครบางคน การที่เราจะสนิทกับใครสักคนเราต้องกิจกรรมทางสังคมหลายๆ อย่างด้วยกันบ่อยๆ มีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ไปกินข้าวด้วยกันประจำ ไปเที่ยวด้วยกันประจำ คุยกันเป็นประจำ ไปมาหาสู่กันบ่อยๆ เป็นต้น การที่เราจะทำกิจกรรมแบบนี้กับใครสักคนได้เป็นประจำ เชื่อเถอะว่าคุณกับเขา ต้องมีความคิดเห็น นิสัย ความชอบอะไรเหมือนๆ กัน เอาจริงๆ คือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนชอบกินอะไรคนละอย่างแต่ดันไปกินข้าวด้วยกันเป็นประจำ หรือคนที่ชอบคุยกันคนละเรื่องแต่ก็ดันคุยกันด้วยกันทุกวัน คนที่ชอบเที่ยวกันคนละสไตล์แต่ก็ดันไปเที่ยวด้วยกันเป็นประจำอีก อาจจะมีข้อยกเว้นนะ แต่ผมว่าโอกาสเป็นไปได้น้อยมากๆ

ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่ต้องยอมรับกันก็คือ นิสัย ความชอบ ทัศนคติของคนเราเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ในขณะที่เพื่อนสนิทต่างต้องแยกย้ายกันไปมีชีวิตของตนเอง ต่างคนต่างต้องเผชิญกับชีวิตรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ประสบการณ์ต่างๆ ที่ต่างคนต่างพบเจอนี่แหละ ที่จะทำให้นิสัย ความชอบ และทัศนคติเปลี่ยนแปลง เราไม่มีทางรู้เลยว่าเพื่อนสนิทของเราที่ไม่ได้พบเจอกันมาแรมปีพบเจออะไรมาบ้างตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้พบเจอกัน เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่านิสัยของเพื่อนเรายังคงเหมือนเดิม เพื่อนยังชอบสิ่งเดิมๆ เหมือนเราอยู่ไหม ทัศนคติของเรากับเพื่อนยังตรงกันอยู่ไหม

ทุกครั้งที่ผมได้เจอเพื่อนสนิทที่ไม่ได้เจอ ไม่ได้พูดคุยกันมานาน บอกเลยว่าผมไม่สนิทใจที่จะพูดคุยกับเขาเหมือนแต่ก่อน สิ่งที่ผมทำคือคุยกันแบบระมัดระวัง เพราะเราไม่รู้ว่าเพื่อนยังเหมือนเดิมอยู่ไหม การพยายามชวนคุยเรื่องต่างๆ เป็นการตรวจสอบดูว่าเพื่อนเรายังคิดเห็น ยังชอบอะไรตรงกับเราอยู่หรือไม่ จนแน่ใจระดับหนึ่งว่าเรายังมีอะไรตรงกันอยู่นะ เราถึงจะรู้สึกสนิทกันแบบเดิมได้

ลองนึกถึงเพื่อนสมัยเด็กของเรา สมมุติให้เรากับเพื่อนชอบกันดัมกันมากๆ เราสนิทกันมากเพราะคุยกันถูกคอ คุยภาษาเดียวกัน ด้วยความที่สนใจเรื่องเดียวกันจึงทำให้เราสนิทกัน แต่แล้วเมื่อเรียนจบ ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป มาเจอกันอีกทีก็โตแล้ว โอเคว่าเราอาจจะระลึกความหลังด้วยการชวนเพื่อนคุยเรื่องกันดัมแบบเดิมๆ แต่เกิดเพื่อนของเราดันเปลี่ยนทัศนคติเป็นไม่ชอบกันดัมแล้ว อาจด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ทีนี้เราจะคุยเรื่องอะไรกันดี คุยเรื่องกันดัมแบบเดิมคงไม่ได้ ถ้าโชคดีหน่อยมีเรื่องราวอื่นๆ ที่ยังพอเข้ากันได้ก็อาจจะชวนคุยกันจนความสนิทสนมกลับมา แต่ถ้าเกิดนิสัยหรือความชอบอื่นๆ เกิดเปลี่ยนไปอย่างมาก เชื่อได้เลยว่าความสนิทใจที่จะเป็นเพื่อนกันย่อมลดลงเป็นธรรมดา

ประโยคที่กล่าวไว้ข้างต้นอาจจะเป็นจริงเสียส่วนมาก เพราะคนส่วนหนึ่งอาจจะไม่เปลี่ยนไปเลยตั้งแต่เด็กจนโต และคนส่วนมากก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งเราพร้อมจะมองข้ามความไม่เหมือนกันบางอย่างตราบเท่าที่ยังมีส่วนที่เหมือนกันอยู่มาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนอีกส่วนที่เปลี่ยนไป โดยสิ่งที่เขาเปลี่ยนไปนั้นเราให้ความสำคัญมากด้วย เช่น รสนิยมทางเพศ ทัศนคติทางการเมือง คนที่ให้ความสำคัญในเรื่องบางเรื่องอาจจะรับไม่ได้ ถึงขั้นตัดความเป็นเพื่อนกันเลยก็มี

Comments

Popular posts from this blog

วิธีการแก้ไขปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย เป็นปัญหาที่แก้กันไม่ตก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรค่อนข้างต่ำ แต่รสนิยมในการบริโภคกลับไม่ต่ำตาม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการผลิตของลอกเลียนแบบ หรือของละเมิดลิขสิทธิ์ในอัตราที่สูงจนติดอันดับต้นๆ ของโลก ไม่เพียงรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ติดอันดับโลก แต่รวมไปถึงสินค้าแบรนด์เนมสุดหรูอย่างเสื้อผ้า กระเป๋า น้ำหอม เครื่องสำอางอีกด้วย ซอฟต์แวร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ มีตั้งแต่ซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการ อย่าง Windows และ Mac OS ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในในสำนักงาน อย่าง MS Office ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ อย่าง Adobe Creative Suit รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานเฉพาะด้านอย่าง CAD/CAM และอีกมากมายหลายประเภท ผู้ที่เสาะแสวงหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา เพราะพวกเขาเหล่านั้นคิดว่าการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมตรวจจับได้ยาก อีกทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมก็ไม่ได้ทำให้เขาสูญเสียผลประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งผิดกับนิติบุคคล อย่างองค์กรของรัฐ หรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการการบำรุงรักษาระบบ และบริการหลังการขาย...

รหัสบัตรเครดิต ภัยอินเทอร์เน็ต

ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การซื้อ-ขายสินค้า และบริการ ก็สามารถดำเนินการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ยิ่งเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้าไปเพียงใด ผู้ที่คิดจะทำเทคโนโลยีมาใช้ในทางฉ้อฉลก็ยิ่งมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การซื้อ-ขายสินค้า และบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้า โดยลูกค้าจะต้องให้รหัสบัตรเครดิตแก่ผู้ขายสินค้า อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดักจับข้อมูลรหัสบัตรเครดิต และข้อมูลสำคัญอื่นนอกจากนี้ได้ อีกวิธีที่เป็นที่นิยมในการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวคือ การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงิน แล้วแจ้งไปยังเหยื่อ อาจใช้อีเมล จดหมาย หรือทางโทรศัพท์ อ้างว่ามีเหตุขัดข้องบางประการเกี่ยวกับบัญชีของเหยื่อ เช่น อ้างว่าบัญชีของเหยื่อถูกระงับชั่วคราว ถูกยกเลิก หรือถูกเพิกถอน โดยหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน รหัสบัตรเครดิต รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร วันเดือนปีเกิด เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้แล้ว ก็จะทำ...