Skip to main content

การใช้ article a/an, the ในภาษาอังกฤษ

สัปดาห์ก่อนได้มีโอกาสเข้าเรียนภาษาอังกฤษที่ทางบริษัทจัดให้ ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ a และ the หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า article

อย่างที่ทราบกันดีอยู่ก่อนแล้วว่าเราใช้ a เมื่อต้องการกล่าวถึงสิ่งใดๆ ที่เป็นเอกพจน์แบบไม่เฉพาะเจาะจง และใช้ the ในกรณีที่ต้องการกล่าวถึงสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เช่น Samsung has unveiled a tablet that can switch between the Windows 8 and Android operating systems. ในกรณีนี้เป็นการบอกว่า Samsung เปิดตัวคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตตัวใหม่รุ่นหนึ่ง แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นรุ่นอะไร เป็นการกล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นครั้งแรก และใช้ the เมื่อกล่าวถึงระบบปฏิบัติการ Windows 8 และ Android ที่เป็นชื่อเฉพาะ

แต่เมื่อมีการกล่าวซ้ำอีกรอบ จะมีการเปลี่ยนไปใช้ the เพราะผู้อ่านหรือผู้ฟังทราบแล้วว่าเราต้องการกล่าวถึงแท็บเล็ตตัวไหน The tablet has a 13.3in (33.8cm) screen. หรือถ้าต้องการระบุเฉพาะเจาะจงลงไปเลยว่าเป็นรุ่นนี้ ก็จะใช้เป็น The Ativ Q has a 13.3in (33.8cm) screen.

มีข้อยกเว้นบางอย่างที่ฝรั่งจะใช้ the กัน แม้ว่าจะไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจง เช่น เมื่อพูดถึง the doctor หรือ the dentist กรณีนี้แม้จะไม่ต้องการระบุว่าจะไปหาหมอที่เป็นใครที่ไหน I’m going to see the doctor. แม้จะพูดถึง doctor เหมือนกัน แต่กลับใช้ a เช่น My sister is a doctor.

มีอีกกรณีที่อาจารย์ฝรั่งยกตัวอย่างก็คือ the bank, the post office ลักษณะนี่เวลาพูดถึงก็มักจะใช้ the เช่น I’m going to the bank this afternoon. แม้ว่าผู้พูดจะไม่ได้บอก และผู้ฟังก็ไม่ได้สนใจว่าเป็นธนาคาสาขาไหนก็ตาม

ส่วนเรื่องนี้ถือเป็นความรู้ใหม่จริงๆ อาจารย์ฝรั่งพูดถึง radio กับ television โดยยกตัวอย่างบทสนทนานี้
a: Do you often listen to the radio?
b: No. In fact, I haven’t got a radio.

บทสนทนานี้แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงความแตกต่างเมื่อเราใช้ a กับ the กับ radio เป็นการทั่วไป ซึ่งรวมถึงการใช้กับ television ด้วย เมื่อเราใช้ the radio หรือ the television เราพูดถึงเนื้อหาที่เราดูหรือฟัง แม้จะไม่ได้ระบุว่าเป็นรายการไหน คลื่นหรือช่องอะไร แต่เมื่อใช้ a radio หรือ a television เราพูดถึงตัวเครื่องที่จับต้องได้แบบไม่ระบุเช่นกัน

อาจารย์ฝรั่งที่สอนก็แสดงความเห็นใจอยู่เหมือนกันว่ามันน่าสับสนสำหรับคนที่ไม่ใช่ native speaker ที่จะมาจดจำข้อยกเว้นแบบนี้ แต่โดยส่วนตัวเข้าใจว่า ภาษาเป็นเรื่องของความเคยชิน ถ้าใช้กันบ่อยๆ เราก็น่าจะติดปากไปเอง

Comments

Popular posts from this blog

วิธีการแก้ไขปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย เป็นปัญหาที่แก้กันไม่ตก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรค่อนข้างต่ำ แต่รสนิยมในการบริโภคกลับไม่ต่ำตาม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการผลิตของลอกเลียนแบบ หรือของละเมิดลิขสิทธิ์ในอัตราที่สูงจนติดอันดับต้นๆ ของโลก ไม่เพียงรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ติดอันดับโลก แต่รวมไปถึงสินค้าแบรนด์เนมสุดหรูอย่างเสื้อผ้า กระเป๋า น้ำหอม เครื่องสำอางอีกด้วย ซอฟต์แวร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ มีตั้งแต่ซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการ อย่าง Windows และ Mac OS ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในในสำนักงาน อย่าง MS Office ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ อย่าง Adobe Creative Suit รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานเฉพาะด้านอย่าง CAD/CAM และอีกมากมายหลายประเภท ผู้ที่เสาะแสวงหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา เพราะพวกเขาเหล่านั้นคิดว่าการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมตรวจจับได้ยาก อีกทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ปลอมก็ไม่ได้ทำให้เขาสูญเสียผลประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งผิดกับนิติบุคคล อย่างองค์กรของรัฐ หรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการการบำรุงรักษาระบบ และบริการหลังการขาย...

เพื่อนสนิท ไม่ว่าจะไม่เจอกันนานแค่ไหน เมื่อกลับมาเจอกันใหม่ก็ยังรู้สึกสนิทกันเหมือนเดิมจริงหรือ?

เคยมีคนบอกเอาไว้ว่า " เพื่อนสนิท ไม่ว่าจะไม่เจอกันนานแค่ไหน เมื่อกลับมาเจอกันใหม่ก็ยังรู้สึกสนิทกันเหมือนเดิม " ผมว่ามันไม่จริงเสมอไป อาจจะต้องเริ่มอธิบายกันก่อนว่าทำไมเราถึงรู้สึกสนิทกับใครบางคน การที่เราจะสนิทกับใครสักคนเราต้องกิจกรรมทางสังคมหลายๆ อย่างด้วยกันบ่อยๆ มีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ไปกินข้าวด้วยกันประจำ ไปเที่ยวด้วยกันประจำ คุยกันเป็นประจำ ไปมาหาสู่กันบ่อยๆ เป็นต้น การที่เราจะทำกิจกรรมแบบนี้กับใครสักคนได้เป็นประจำ เชื่อเถอะว่าคุณกับเขา ต้องมีความคิดเห็น นิสัย ความชอบอะไรเหมือนๆ กัน เอาจริงๆ คือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนชอบกินอะไรคนละอย่างแต่ดันไปกินข้าวด้วยกันเป็นประจำ หรือคนที่ชอบคุยกันคนละเรื่องแต่ก็ดันคุยกันด้วยกันทุกวัน คนที่ชอบเที่ยวกันคนละสไตล์แต่ก็ดันไปเที่ยวด้วยกันเป็นประจำอีก อาจจะมีข้อยกเว้นนะ แต่ผมว่าโอกาสเป็นไปได้น้อยมากๆ ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่ต้องยอมรับกันก็คือ นิสัย ความชอบ ทัศนคติของคนเราเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ในขณะที่เพื่อนสนิทต่างต้องแยกย้ายกันไปมีชีวิตของตนเอง ต่างคนต่างต้องเผชิญกับชีวิตรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ประสบการณ์ต่างๆ ที่ต่างคนต่างพบเจอนี่แหละ ท...

รหัสบัตรเครดิต ภัยอินเทอร์เน็ต

ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การซื้อ-ขายสินค้า และบริการ ก็สามารถดำเนินการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ยิ่งเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้าไปเพียงใด ผู้ที่คิดจะทำเทคโนโลยีมาใช้ในทางฉ้อฉลก็ยิ่งมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การซื้อ-ขายสินค้า และบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้า โดยลูกค้าจะต้องให้รหัสบัตรเครดิตแก่ผู้ขายสินค้า อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดักจับข้อมูลรหัสบัตรเครดิต และข้อมูลสำคัญอื่นนอกจากนี้ได้ อีกวิธีที่เป็นที่นิยมในการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวคือ การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงิน แล้วแจ้งไปยังเหยื่อ อาจใช้อีเมล จดหมาย หรือทางโทรศัพท์ อ้างว่ามีเหตุขัดข้องบางประการเกี่ยวกับบัญชีของเหยื่อ เช่น อ้างว่าบัญชีของเหยื่อถูกระงับชั่วคราว ถูกยกเลิก หรือถูกเพิกถอน โดยหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน รหัสบัตรเครดิต รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร วันเดือนปีเกิด เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้แล้ว ก็จะทำ...